THALES

ธาลิส ( Thales )

มีการเริ่มต้นยิ่งใหญ่ในกรีก มิเลทัส ตอนเริ่มศตวรรษที่ ๖ก่อนคริสตศักราช  มิเลทัสมีอำนาจทางทะเล

มีอาณานิคมล้อมรอบฝั่งทะเลดำ วางรากฐานการก่อตั้งกรีกในอียิปต์

ธาเลส(Thales) เกิดก่อนพระพุทธเจ้า เป็นนักปราชญ์ รัฐบุรุษ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ วิศวกร ทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่เกิดวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ก่อนพุทธศักราช ๔๒ ปี เขากล่าวว่าน้ำเป็นปฐมธาตุ โลกแบนกลมลอยในน้ำ

ทฤษฏีของธาเลส

น้ำเป็นสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้ แต่เป็นอนันต์หรือไม่มีค่าจำกัด ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ขึ้นกับการสังเกตุและกการทดลองและผลิตผลลัพธ์  ปรัชญาขึ้นกับเหตุผลและไม่ผลิตผลลัพธ์

anaximander2_s

อแนกซีแมนเดอร์(Anaximander)

เกิดราว  610 B.C.   เป็นกรีกคนแรกที่เขียนหนังสือเป็นร้อยแก้ว(prose) หนังสือเล่มนี้สูญหาย แต่ก็มีคุณค่าต่อนักปราชญ์ มักถูกใช้อ้างบ่อยๆ   คำอ้างอิงที่เกี่ย0E27กับความคิดเริ่มต้นและทั่วไปของปัญหาของอะแนกซิแมนเดอร์ที่ธาเลสยกขึ้นม่าดังนี้                                                                                                      ๑)สาเหตุของวัตถุและธาตุแรกเป็นอนันต์  สาเหตุของมวลไม่ใช่น้ำหรือธาตุอื่นแต่เป็นสาเหตุที่แตกต่างไป เป็นอนันต์ที่เกิดจากสวรรค์ทั้งหมดและโลกภายในของมัน

๒) นี่เป็นชั่วนิจนิรันดร์และไม่มีอายุที่ครอบคลุมคำทั้งหมด

๓) สิ่งที่จะเกิดขึ้นต้องผ่านการตายอีกครั้ง ทำการซ่อมแซม พอใจต่อกันตามการเรียงลำดับเวลา

๔) มีการเคลื่อนที่นิรันดร์ที่นำมาให้กำเนิดแก่โลก

๕) ไม่ได้บอกกำเนิดของสิ่งกับการเปลี่ยนแปลงในมวลสารแต่บอกว่าsubstratum แยกกันอยู่

จากคำอ้างอิงเหล่านี้มีหลายค่าที่อะแนกซิแมนเดอร์ไม่ได้ใช้ด้วยตัวเอง เขาอาจสมมุติมาจากกวี  ยากที่จะนึกภาพว่าเขาคิดได้อย่างไรถ้าไม่มาจากตัวเอง

เป็นศิษย์ธาเลส ศึกษาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทำแผนที่โลก เผยแพร่นาฬิกาแดดแก่กรีก เขียนหนังสือปรัชญา On Nature  ซึ่งเป็นตำราเล่มแรกของกรีก  ปฐมธาตุเป็นอนันต์ ที่ไม่มีลักษณะตายตัว เป็นอะไรก็ได้หรือเป็นพลังงาน

อแนกซีเมเนส(Anaximenes) เป็นศิษย์อะแนกซิแมนเดอร์ บอกว่าน้ำและอนันต์ไม่ใช่ปฐมธาตุของโลก อากาศต่างหากเป็นปฐมธาตุ

 

socrates

โซคราติส (Socretis) 

พ.ศ.๗๓–๑๔๔ เกิดที่เอเธนส์ คิดว่าความรู้เรื่องปฐมธาตุ โลกหรือกำเนิดจักรวาลมีประโยชน์น้อยมาก  ความรู้ควรเกี่ยวกับมนุษย์และหน้าที่มนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น   การค้นคว้าปรัชญามีจุดมุ่งหมายมากกว่าที่การปฎิบัติมากกว่าการสร้างทฤษฏี  ทางอภิปรัชญา เหตุผลเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้  เหตุผลช่วยให้ค้นหามโนภาพ ความรู้เป็นมโนภาพ มโนภาพคือความรู้จักสิ่งสากล

วิธีการของโซคราติส      เป็นศิลปะการสนทนา

๑) สงสัย (sceptical)

๒) สนทนา(conversational)

๓) หาคำจำกัดความ (defination)

๔) อุปนัย (inductiive)

๕) นิรนัย (deductiive)

ความรู้คือคุณธรรม  คนมีความรู้จะประพฤติดี เป็นคนมีเหตุผลสูง   ถูกต้องต้องทำ ในที่สุดถูกประหารชีวิต

อริสโตเติลกล่าวว่า คนที่มือถึอสาก ปากถือศีล ( Hypocite) คนมากด้วยกิเลสตัณหาเป็นพวกแพ้จิตใจที่ต่ำ  กรีกมีนักปรัชญาสำคัญที่สุดคือพลาโตและอริสโตเติล

plato3

เพลโต (Plato) 

พ.ศ. ๑๑๖–๑๙๖ ชื่อเดิมคืออริสโตเคลอส์ (Aristocles) เกิดที่เอเธนส์ เมื่อโสเครติสถูกประหารชีวิต

เพลโตอายุ ๒๘ ปี พลาโตเห็นการเมืองเป็นเรื่องสกปรก  เขาหนีไปอยู่เมการาที่ได้พบยูคลิดส์(Euclides) ที่เป็นศิษย์ของโสเครติส   ผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาที่มีปรัชญาของโสเครติสกับร์มีนิเดส   พลาโตศึกษาปรัชญาและออกจากเมการาเดินทางไปไซรินี  อียิปต์ อิตาลี และซิชิลี  ศึกษาปรัชญาของพิธากอรัสที่อิตาลี ท่องต่างแดนถึง ๑๐ ปี   กลับเอเธนส์  ตั้งสำนักศึกษาแก่เยาวชนกรีก ชื่ออะคาเดมี(Academy) เปิดสอน พ.ศ. ๑๕๖ ขณะเพลโตอายุไ ๔๐ ปี นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรีก   เขาให้ความสำคัญแก่วิทยาศาสตร์    เอกลักษณ์พิเศษอยู่ที่การศึกษา วิจัยด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์   เพลโตคิดว่านักปกครองที่ดีต้องรู้วิทยาศาสตร์และปรัชญาการเมือง   มีสำนักอิโสเครติสที่เอเธนส์  แต่ไม่เห็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ เพลโตเคยพูดหัวข้อ On the good เป็นเรื่องคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์มีศิษย์ชื่ออริสโตเติลเข้าศึกษาที่อะคาเดมี พ.ศ. ๑๗๖

เพลโตเป็นนักปรัชญาตะวันตกคนแรกที่สอนปรัชญาอย่างมีระบบ พลาโตกล่าวว่าความรู้ระดับผัสสะหรือสัญชานไม่ใช่ความรู้เป็นเพียงทัศนะ   แต่ละคนให้ความรู้ไม่ตรงกันและสัญชานไม่ช่วยให้คนเราพบความจริงแท้  ความรู้แท้จริงได้จากเหตุผล  ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนคติ(Idea) โสเครติสกล่าว่า ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนภาพ(Concept)   พลาโตกล่าวว่า คนค้นพบมโนคติโดยการคิดแบบวิภาษวิธี  จิตมีวิธีทำวิภาษวิธี  ที่อธิบายด้วยเส้นแบ่ง

อภิปรัชญาของเพลโตเป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฏีแห่งมโนคติ และจักรวาลวิทยา  ทฤษฎีแห่งมโนคติหรือแบบของเพลโตนับเป็นการค้นพบปรัชญาที่สำคัญของเพลโต ทฤษฎีเสนอแก่นแท้หรือสาระของสรรพสิ่งต่างจากปฐมภูมิธาตุของปรัชญากรีกสมัยนั้น

images (1)

  อริสโตเติล ( Aristotle ) 

เป็นศิษย์ของพลาโต เป็นปราชญ์คนสุดท้ายของปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง   หลังจากอริสโตเติลสิ้นชีวิต

ปรัชญาตะวันตกต้องรอถึง ๒๐๐๐ ปี จึงจะมีปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกับอริสโตเติล

อริสโตเติลเกิดพ.ศ. ๑๕๙ ที่เมืองสตาริกา  บิดาเป็นแพทย์หลวง เมื่ออายุได้ ๑๗ ปีได้ไปศึกษาในสำนักอะคาดามีของพลาโตนานถึง ๒๐ ปี

อริสโตเติลตั้งสำนักของตนเองชื่อ ไลซิอัม(Lyceum) คล้ายของพลาโต  ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของตรรกศาสตร์ และสัตววิทยา   ปราชญ์ยุคหลังแบ่งงานนิพนธ์ ของอริสโตเติลเป็น ๗ หมวด

๑) หมวดตรรกศาสตร์เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้

๒) หมวดวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเช่นฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สัตว์ ว่าด้วยกำเนิดสัตว์

๓) หมวดจิตวิทยา มีหนังสือว่าด้วยวิญญาณ  ว่าด้วยความฝัน

๔) หมวดอภิปรัชญา มี ๑๔ เล่ม

๕) หมวดจริยศาสตร์ มีราว ๓ เล่ม

๖) หมวดรัฐศาสตร์

hippocrates

       ฮิปโปกราเตส

 (Hippocrates; ประมาณ พ.ศ. 83-166)  ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก” และต้นตอของ “คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ

ฮิปโปกราเตสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณ ว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง “ฮิปโปกราเตสคอร์ปัส” (Hippogrates corpus)แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่างๆ กัน แต่นำมารวมผิดๆ ถูกๆ ภายใต้ชื่อฮิปโปกราเตส

ฮิปโปกราเตส ได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปโปกราเตสทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปโปกราเตสทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปโปคราเตส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปโปกราเตส และผลงานของฮิปโปกราเตสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปโปกราเตสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปโปกราเตสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปโปคราเตส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่นๆ

555000005681505

เฮโรโดตัส

( Herodotus, 480 – 430 B.C)

เฮโรโดตัสผู้ซึ่ง ซิเซโร (Cicero) รัฐบุรุษชาวโรมันได้ยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์” (The father of history) เป็นชาวเมือฮาลิคาเนซุส ริมฝั่งทะเลเอเชียไมเนอร์ เกิดในตระกูลผู้ดี เป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมทางสติปัญญาดีและมีความรู้ความสามารถ ทั้งวัฒนธรรม วรรณคดี การเมือง เขาได้ส่งเสริการเขียนประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยาเป็นอย่างมาก จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์อย่างที่ซิเซโรยกย่อง

จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อต้านการปกครองรัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงประชาชน เขาจึงถูกเนรเทศออกนอกประเทศ จากจุดนั้นเองเขาจึงได้เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น ฟินิเชีย อียิปต์ เกาะซิซิลี อิตาลี กรีก ฯลฯ เขาได้รับความเชื่อ คติชน ต่าง ๆ จากสถานที่ที่เข้าไปสัมผัสด้วยตนเอง และได้รวมรวมเป็นหนังสือชื่อ Historia แปลว่าการค้นคว้าวิจัย การสืบถามหาข้อมูลที่เป็นจริง หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 เล่ม แบ่งเนื้อหาสาระดังนี้คือ 6 เล่มแรก กล่าวถึงเรื่องราวของเปอร์เซีย ประวัติศาสตร์อียิปต์ และการปกครองของอาณาจักรไปโอเนียน อีก 3 เล่ม กล่าวถึงสงครามระหว่างชาวกรีกกับชาวเปอร์เซีย

image.asp

ทูซีดีดิส

(Thucydides, 456 – 396 B.C.)

ทูซีดีดิสเป็นชาวเอเธนส์ ในตระกูลสูงและมีฐานะมั้นคง มีหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารเรือช่วงที่เกิดสงครามเพโลโพนีเซียน (431 – 404 B.C.) ให้นำกองทัพเรือไปยังดินแดนแทรซ แต่เขาได้นำกองทัพเรือไปไม่ทันการณ์จึงถูกลงโทษ โดยการเนรเทศออกนอกรัฐเอเธนส์เป็นเลา 20 ปี

ทูซีดีดิสเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ เพื่อศึกษาความรู้ละนำข้อมูลต่างๆ มาเขียนประวัติศาสตร์สงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา เขาสนใจอย่างมากที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับดินแดนของสตรูคือสปาร์ต้าให้มากที่สุด งานเขียนชิ้นสำคัญคือ The history of The Peloponnesian War. ในปีที่ 431 ก่อนคริสตกาล เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนักปรัชญากลุ่มโซฟิสต์ คือ โพรตากอรัส และ กอร์เจียส

ใส่ความเห็น